อุปสรรคในชีวิตมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะฝึกเจริญสติและดูแลตัวเองก็มีมากขึ้นเท่านั้น

หลายครั้งที่ผู้เขียนได้ยินคนที่สนใจเรื่องการฝึกเจริญสติพูดถึงอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถฝึกได้สม่ำเสมอ เช่นไม่มีเวลา งานยุ่ง ต้องเดินทาง ไม่มีคนนำฝึก หรือแนวทางในการฝึก ถูกแทรกแซงหรือรบกวนจากคนรอบข้าง หรือสภาพแวดล้อม ฯลฯ

ส่วนตัวผู้เขียนกลับเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นสิ่งขัดขวางในการฝึกเจริญสติ แต่กลับเป็นโอกาสที่จะช่วยส่งเสริมการฝึกฝนของเรา

การเจริญสติหมายถึง ความสามารถ ที่จะ

1. เฝ้าดู จำได้หมายรู้ ถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นภายในร่างกายและจิตใจ ความคิดและความรู้สึก และสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว
2. จดจ่อ ใส่ใจและอยู่กับเป้าหมาย เหตุการณ์ที่ิกำลังเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหายใจ อารมณ์ต่างๆ หรือกิจกรรมต่างๆที่เรากำลังทำอยู่เสมอ เช่นการรับประทานอาหาร
3. อยู่กับปัจจุบันขณะ และตระหนักรู้ว่าอะไรเกิดขึ้น ณ ขณะนั้น เราอาจจะมีความคิดเกิดขึ้น ความคิดที่อยู่ในอดีตหรือคิดไปในอนาคต แต่เมื่อเราเห็นความคิดเหล่านี้เรารับรู้อย่างมีสติและก็ดึงการรับรู้กลับมาอยู่ใส่ใจอยู่กับปัจจุบัน
4. ตระหนัก รับรู้ หรือจดจ่อสิ่งต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วทั้ง 3 ข้ออย่างไม่ตัดสิน หรือถ้ามีความคิดตัดสินเกิดขึ้น ก็เท่าทันและปล่อยให้ความคิดนั้นผ่านไป เรารับรู้สิ่งต่างๆ อย่างที่เป็น ไม่ปรุงแต่ง หัวข้อนี้ถือเป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญ
เพราะความเครียดส่วนหนึ่งจะมาจากความคิดที่ตัดสินตัวเองและตัดสินผู้อื่น
การมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมนั้น จะปล่อยวางความคิดต่างๆ เหล่านี้ไปได้เร็วขึ้น

หากวิธีการฝึกให้จิตกลับมาอยู่กับปัจจุบันโดยใช้ร่างกายเป็นจุดรวมของจิตแล้วนั้น เราทำได้ตลอด ไม่ว่าเราจะทำอะไรและไม่ว่าจะไปที่ไหน เราใช้ร่างกายของเรา เรากิน เราพููดคุย เราฟัง เราอาบน้ำ เราทำสะอาด เรานั่ง เราวิ่งและเราก็อาจนั่งสมาธิ ทุกๆวัน

การฝึกเจริญสติไม่ได้ทำได้เพียงแต่ในรูปแบบของการนั่งสมาธิแบบต่างๆ สแกนร่างกาย หรือนับลมหายใจ ฯลฯ เท่านั้น แน่นอนว่าการขึ้นข้างต้นนั้น ส่งเสริมให้การเฝ้าดูจิตทำได้ง่ายขึ้นมากกว่าอยู่ในรูปแบบเคลื่อนไหว แต่การฝึกที่ไม่มีรูปแบบก็สามารถฝึกได้ตลอด

เวลา โดยการฝึกชะลอ หยุดใส่ใจกับสิ่งที่เรากำลังกระทำ และดึงจิตมาตามรู้การเคลื่อนไหว และความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย อย่างเช่น ในขณะที่เรากำลังมองสิ่งต่างๆ กำลังฟังเสียงบางอย่าง ขณะที่เรากำลังลิ่มรสและเคี้ยวอาหาร ขณะที่เรากำลังสัมผัสสิ่งต่างๆ ด้วยผิวกายและเฝ้าดูประสาทสัมผัสต่างๆ

ดังนั้นเมื่อชีวิตต้องเผชิญกับความยุ่งยากมากเท่าไหร่ แล้วเราขาดสติไม่รู้เท่าทันตัวเอง ก็จะทำให้ความเครียดสะสมมากขึ้นเท่านั้น เพราะจิตเรามีแนวโน้มที่จะคิดวุ่นวายไปมา คิดหมกมุ่นไปในอนาคตที่อาจจะเป็นด้านลบ แต่ถ้าเราจับได้และเท่าทันความคิดลักษณะนี้ เราก็จะสามารถพลิกสถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคนั้นให้เป็นโอกาสที่จะช่วยให้เรา ช้าลงได้ฝึกสติ ดึงจิตกลับมาอยู่กับเนื้อตัว และปัจจุบัน

เมื่อวานผู้เขียนนั่งอูเบอร์กลับบ้าน ไปกับผุ้โดยสารอื่นอีกสองคน รถวิ่งผ่านถนนที่แคบมากกว่าปกติ ข้างขวาของถนนมีรถจอดเต็มข้างทาง
คนในรถต่างก็อุทานออกมาเหมือนกันว่าถนนแคบมาก คนขับรถลดความเร็วลงทันใด โดยเปลี่ยนเป็นความเร็วเท่าระดับคนเดิน ผุ้เขียนก็พูดขึ้นมาว่า “โอ้โห” และคนขับก็พูดว่า “โหดจัง ไม่ง่ายเลยนะเนี่ย” และก็ขับแบบไม่พูดคุย แต่ระมัดระวังเป็นอย่างมาก ผู้หญิงคนที่บ้านอยู่บนถนนเส้นนั้นบอกว่า “รู้มั้ยที่แปลกใจก็คือ ฉันไม่เคยเห็นรถที่จอดอยู่นี่สักคันกระจกข้างแตกหัก.

จากภาพที่เห็นตรงหน้า ผู้เขียนเห็นความคิดโผล่ขึ้นมาว่าทันทีว่า เหตุการณ์แบบนี้เปรียบเสมือนตอนที่เราบาดเจ็บ หรือร่างกายมีปัญหา เช่นเราอาจปวดหลังหรือขาทำงานได้แค่ข้างเดียว ร่างกายมีข้อจำกัด หรือ ถูกบังคับให้ต้องเคลื่อนไหวช้าลง ในสถานการณ์แบบนี้ สิ่งที่เราทำได้คือช้าลงและระมัดระวังก่อนที่จะเคลื่อนไปข้างหน้า นับเป็นโอกาสที่จะช่วยให้เราฝึกเเจริญสติได้เป็นอย่างดี

ผู้เขียนแสดงความในใจนี้กับคนในรถ ผู้หญิงคนที่มีบ้านอยู่บนถนนสายนี้ พูด ด้วยน้ำเสียงที่ครุ่นคิดว่า “ ฮึมม…จริง น่าคิด ” …“เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

One thought on “อุปสรรคในชีวิตมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะฝึกเจริญสติและดูแลตัวเองก็มีมากขึ้นเท่านั้น

Leave a Reply

Your Email address address will not be published. Required fields are marked *